"Dum" : ตำนานสตั๊ดไทยในความทรงจำของคอลูกหนังยุค 90's
รองเท้าสตั๊ดในดวงใจคุณคือยี่ห้ออะไร? คำตอบของเด็กรุ่นใหม่ของหนีไม่พ้นแบรนด์จากต่างประเทศ เช่น Nike หรือ adidas ที่มีสินค้าวางขายแทบทุกร้านอุปกรณ์กีฬา ทั่วประเทศไทย
แต่สำหรับแฟนฟุตบอลยุค 90's ASIA369 หนึ่งในรองเท้าสตั๊ดที่ได้รับความนิยม จนถูกกล่าวขานเป็นตำนาน คือ "Dum" รองเท้าที่ขึ้นชื่อเรื่องความทนทานและใส่สบาย จนกลายเป็นที่นิยมในหมู่นักฟุตบอลและวัยรุ่นไทย
Main Stand พาคุณย้อนเวลาสู่ยุค 90's ไปกับเรื่องราวของ รองเท้า Dum ตำนานสตั๊ดสัญชาติไทย ที่ยังคงอยู่ในความทรงจำของใครหลายคน
รองเท้าไทย เพื่อคนไทย
รองเท้า Dum คือแบรนด์สตั๊ดสัญชาติไทย ที่มี ศุภกิจ มีลาภกิจ อดีตนักเตะสโมสรทหารอากาศและทีมชาติไทย เจ้าของฉายา "อินทรีดำ" เป็นเจ้าของ โดยทำการผลิตตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521
จุดเริ่มต้นของรองเท้า Dum มาจากความคิดของ ศุภกิจ ที่ต้องการผลิตสตั๊ดคุณภาพดี แต่ราคาถูก ให้แก่เพื่อนพ้องในวงการฟุตบอลไทยใช้งาน ศุภกิจ ที่ผันตัวจากนักเตะเป็นผู้ฝึกสอนในเวลานั้น จึงลงมือผลิตรองเท้าสตั๊ดของตัวเองขึ้นมา
จากประสบการณ์ในสนามแข่งขัน ศุภกิจ รู้ดีว่า นักเตะไทยต้องการอะไรจากรองเท้าสตั๊ดที่สวมใส่ อย่างแรก คือความทนทาน สามารถใช้งานได้นาน อย่างที่สอง คือรูปทรงหัวรองเท้าที่ป้านและกว้าง เหมาะกับรูปเท้าส่วนใหญ่ของนักเตะชาวไทย
รองเท้า Dum จึงถูกผลิตขึ้นมาโดยคำนึงถึงคุณภาพเป็นหลัก โดยใช้หนังวัว ซึ่งมีจุดเด่นเรื่องความทนทานและเข้ากับรูปเท้า มาทำเป็นวัสดุส่วน Upper ของสตั๊ด ด้านการออกแบบ รองเท้า Dum ได้แรงบันดาลใจจากสตั๊ดแบรนด์นอกอย่าง adidas รุ่น La Plata
ส่งผลให้รองเท้า Dum มีปุ่มสตั๊ดทรงกลมจำนวน 13 ปุ่ม คล้ายกับรองเท้ารุ่นดังกล่าว รวมถึงมีลวดลายบริเวณด้านข้างรองเท้า คล้ายกับแถบสามขลิบอันเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ adidas
เพียงแต่รองเท้า Dum ประยุกต์ลวดลายให้เหลือเพียงแค่แถบสีขาวสองขลิบบนรองเท้าสีดำ (ช่วงแรกมีสามขลิบเหมือน adidas) และใส่วงกลมขนาดใหญ่ลงไปตรงกลางแทน
ส่วนชื่อของรองเท้า Dum มาจากคำว่า "ดำ" ซึ่งเป็นชื่อเล่นของ ศุภกิจ มีลาภกิจ แต่เพื่อความทันสมัย จึงเขียนเป็นภาษาอังกฤษ เป็นคำว่า "Dum" ส่งผลให้คนไทยหลายคน อ่านออกเสียงรองเท้า Dum ว่า "ดั๊ม" ตามสำเนียงภาษาอังกฤษ แทนที่จะเป็นคำว่า "ดำ" ตามความตั้งใจของผู้ผลิต
รองเท้า Dum ในช่วงเริ่มต้น ถูกจำหน่ายแก่นักเตะในทีมทหารอากาศ หรือ ทีมชาติไทย ในราคาเพียง 370 บาท ด้วยราคาถูกบวกกับคุณภาพ ไม่นานนัก รองเท้า Dum จึงเป็นที่นิยมในหมู่นักเตะอาชีพ ว่ากันว่าครั้งหนึ่ง นักเตะสโมสรทหารอากาศ เลือกใส่รองเท้า Dum ทั้งทีม แม้แต่ ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน กองหน้าหมายเลหนึ่งของประเทศไทย ก็เคยใส่สตั๊ดยี่ห้อนี้ลงแข่งขัน
ความสำเร็จจากการขายแก่คนวงใน ทำให้ ศุภกิจ เริ่มจำหน่ายรองเท้า Dum แก่บุคคลทั่วไป ในช่วงปี พ.ศ. 2535 จนกลายเป็นแบรนด์รองเท้าสตั๊ดระดับตำนาน ที่อยู่ในความทรงจำของใครหลายคนถึงทุกวันนี้
ขวัญใจนักบอลถ้วย ก.
หากถามว่า รองเท้า Dum ที่เป็นสตั๊ดสัญชาติไทย ราคาไม่กี่ร้อยบาท ทำไมถึงได้เป็นสตั๊ดขวัญใจคอลูกหนังยุค 90's ไปได้ บริบทของรองเท้าสตั๊ดในยุคนั้น เปิดเผยคำตอบที่ชัดเจนให้กับเรา
ย้อนกลับไปในช่วงเวลาดังกล่าว รองเท้าสตั๊ดไม่ได้หาซื้อง่าย ตามห้างสรรพสินค้าหรืออินเตอร์เน็ต อย่างปัจจุบัน ผู้คนมากมายเดินทางเข้าสู่ใจกลางเมือง เพื่อหาซื้อรองเท้าตามร้านค้าบริเวณหลังสนามศุภชลาศัย ซึ่งส่วนใหญ่จำหน่ายรองเท้าสตั๊ดแบรนด์ไทย ที่ทางร้านขายรองเท้าผลิตขึ้นมาเอง
"สมัยก่อน Nike กับ adidas ยังไม่มาเปิดตลาดในไทยเท่าที่ควร รองเท้าสตั๊ดที่คนไทยใส่ จะเป็นพวกยี่ห้อยอดเยี่ยม ยี่ห้อนกแก้ว หรือ Dum" กมล สุวรรณเจริญ เจ้าของร้านรองเท้า Football Shop บริเวณหลังสนามศุภชลาศัย กล่าว
"ช่วงแรก รองเท้าสตั๊ดจะมีขายแค่หลังสนามศุภฯ ที่เดียว ใครต้องการซื้อก็ต้องไปหาตาม ร้านยอดเยี่ยม ร้านนกแก้ว หรือร้านของผม"
"นักบอลที่ใส่รองเท้าจากเมืองนอก พวกนั้นต้องเป็นระดับทีมชาติ เขาไปหิ้วมาจากต่างประเทศ เวลาไปเตะตาม สิงคโปร์ หรือ มาเลเซีย เช่นพวก adidas La Plata ต่อมาค่อยเป็นรุ่น Copa ตอนแรกไม่มีขายในไทย ถ้าไม่หิ้ว ก็เป็นของหนีภาษีเข้ามา"
"ช่วงแรกคนไทยส่วนใหญ่ก็ใส่รองเท้าไทย เวลาผ่านไป 7-8 ปีให้หลัง คนไทยถึงรู้จักแบรนด์ Nike กับ adidas"
คู่แข่งในตลาดที่มีไม่มาก ส่งผลให้รองเท้า Dum ก้าวมาเป็นแบรนด์ยอดนิยมของนักฟุตบอลไทยระดับสโมสร ที่ไม่มีโอกาสไปหิ้วรองเท้าจากต่างประเทศ เนื่องจากมีราคาถูก คุณภาพดี และหาซื้อได้ง่าย อีกทั้งรูปลักษณ์ยังดูคล้ายคลึงกับรองเท้าแบรนด์นอกไม่มีผิดเพี้ยน เรียกว่ามองจากระยะไกลแทบแยกไม่ออก
รองเท้า Dum ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คงหนีไม่พ้นรุ่น "อินทรีดำ" สตั๊ดสีดำล้วนสไตล์คลาสสิค ด้วยลวดลายสองขลิบพร้อมวงกลมตรงกลางอันเป็นเอกลักษณ์ บวกกับการสลักคำว่า อินทรีดำ ลงไปในตัวรองเท้า เรียกว่าเป็นดีไซน์ที่มีความพิเศษและสวยงาม ไม่แพ้รองเท้าสตั๊ดจากต่างประเทศ
จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเห็นนักเตะสโมสรชั้นนำในไทย ไม่ว่าจะเป็น การท่าเรือ, ทหารบก, ทหารอากาศ, พนักงานสูบ หรือ โอสถสภา สวมใส่รองเท้า Dum ลงเตะในการแข่งขันฟุตบอลลีกสูงสุด
อิทธิพลของนักเตะอาชีพที่สวมรองเท้า Dum ระหว่างทำการแข่งขัน ทำให้คนทั่วไปมองรองเท้า Dum เป็นรองเท้าที่ใส่แล้วดูเท่ ดูหล่อ ไม่แพ้สตั๊ดแบรนด์นอก บวกกับราคาถูกและใส่สบาย รองเท้า Dum จึงกลายเป็นที่นิยมของวัยรุ่นยุค 90's ครองตลาดรองเท้าฟุตบอลระดับกลางในประเทศไทยในช่วงเวลานั้น
ทนทานเกินราคา
อีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้ รองเท้า Dum กลายเป็นสตั๊ดในความทรงจำของใครหลายคน คือ ความทนทานข้ามกาลเวลา ที่แม้แต่รองเท้าจากต่างประเทศยังต้องอาย
ช่วงปลายยุค 90's หรือราว พ.ศ. 2540 รองเท้าสตั๊ดจากต่างประเทศเริ่มเข้ามาวางขายในประเทศไทย ทั้ง adidas Copa Mundial, Nike Tiempo และ Puma King คือรองเท้าชื่อดังที่คนไทยในยุคนั้น ใฝ่ฝันอยากได้เป็นเจ้าของ
ใช่ว่าทุกคนจะได้ครอบครองสตั๊ดรุ่นดังกล่าว แม้รองเท้าแบรนด์นอกจะมีวางจำหน่ายหลายแห่งในกรุงเทพมหานคร แต่มูลค่าของมันจัดว่าสูงเอาเรื่อง ด้วยราคาวางขายตามท้องตลาดราว 3,500 บาท ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีเงินซื้อรองเท้าที่แพงขนาดนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มวัยรุ่น เช่น นักเรียน นักศึกษา
ด้วยราคาราว 800-1,000 บาท แต่สามารถใส่เตะได้ทุกโอกาส ทุกสภาพสนาม รองเท้า Dum จึงกลายเป็นทางเลือกของวัยรุ่นยุค 90's ที่ไม่มีเงินมากพอจะไขว่คว้ารองเท้าจากต่างประเทศ เนื่องจากความทนทานที่ขึ้นชื่อมาอย่างยาวนาน
"จุดเด่นของรองเท้า Dum คือทนครับ หนังรองเท้าก็นิ่ม แถมน้ำหนักเบาด้วย ถ้าเทียบกับ Puma King หรือ adidas Copa ผมว่าคุณภาพของรองเท้า Dum ไม่ห่างจากรองเท้าแบรนด์นอกมากเท่าไร" ณัฐวุฒิ นาคสุวรรณ ชายหนุ่มผู้สะสมรองเท้า Dum มากกว่า 10 คู่ ให้ความเห็น
"รองเท้า adidas หรือ Puma พวกนั้นคู่หนึ่งราคาตั้งหลายพัน แต่รองเท้า Dum ราคาพันเดียว ทั้งถูก ทั้งทน แถมใส่แล้วเล่นสบายไม่กัดเท้า"
ไม่ใช่แค่สตั๊ดแบรนด์นอก รองเท้า Dum สามารถเทียบเคียงคุณภาพของรองเท้าฟุตบอลไทยหน้าใหม่ อย่าง FBT และ Grandsport อย่างไม่มีปัญหา แม้ 2 แบรนด์หลังจะใช้เทคโนโลยีใหม่ และผลิตออกมาหลากหลายรุ่นกว่า ขณะที่รองเท้า Dum แม้จะมีขายหลากหลายสีสัน ทั้งหมดล้วนเป็นรุ่นอินทรีดำ แต่ด้วยมาตรฐานด้านคุณภาพ ความเก๋าของรุ่นอินทรีดำจึงไม่เป็นปัญหาแม้แต่น้อย
"ส่วนตัวผมว่ารองเท้า Dum ดีกว่าแบรนด์ไทยอื่นนะ เพราะรองเท้า Dum ไม่ได้มีหลายรุ่น หลายราคา ตอนนั้นผมเป็นวัยรุ่น ไม่ได้มีเงินมาก ซื้อรองเท้า Dum เราก็ได้สตั๊ดปุ่มกลมคล้ายรุ่น King หรือ Copa มาใช้" ณัฐวุฒิ กล่าว
"ส่วนรองเท้าไทยแบรนด์อื่น พื้นสตั๊ดจะเป็นยางปุ่มใหญ่ เขาอาจจะมีรุ่นอื่นที่มันดีกว่านี้ แต่ถ้าในเรตราคาเท่ากัน ผมคิดว่ารองเท้า Dum ดีที่สุด"
คุณภาพของรองเท้า Dum ถูกกล่าวขานมาจนถึงปัจจุบัน ความเห็นตามโลกออนไลน์ยืนยันความทนทานของสตั๊ดยี่ห้อนี้ ปรากฏขึ้นมากมาย เช่นเดียวกับคำถามว่า "มีใครเคยใส่รองเท้า Dum บ้าง?" หรือ "รองเท้า Dum ปัจจุบันยังมีขายอยู่ไหม?" หลังรองเท้า Dum เริ่มหายไปจากพื้นหญ้า กลายเป็นเพียงแค่เรื่องราวในความทรงจำของคอลูกหนังยุค 90's
ตำนานที่ยังหายใจ
รองเท้า Dum ทยอยหายไปจากท้องตลาด เนื่องจากรองเท้ารุ่นใหม่ของ Dum ไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้เหมือนเคย บวกกับการรุกหนักของสตั๊ดแบรนด์นอก รองเท้า Dum จึงยุติการผลิตไป หลังจาก ศุภกิจ มีลาภกิจ เสียชีวิต
คนไทยจำนวนมากจึงเข้าใจว่า รองเท้า Dum ไม่มีวางขายแล้วในปัจจุบัน เนื่องจากช่วงเวลาหนึ่งที่สตั๊ดยี่ห้อนี้หายไปจากท้องตลาด ทั้งที่ความจริง รองเท้า Dum กลับมาทำการผลิตอีกครั้งในปัจจุบัน โดยครอบครัวของ ศุภกิจ มีลาภกิจ จัดจำหน่ายทางเพจ "Rome & Dum รองเท้าในตำนาน 1978"
สิ่งหนึ่งที่รองเท้า Dum ไม่เคยเปลี่ยนไป คือเรื่องของคุณภาพและราคา รองเท้า Dum ปัจจุบัน ขายอยู่ที่ราคาราว 1,000 บาท (แตกต่างกันตามรุ่นและช่วงโปรโมชั่น) ซึ่งใกล้เคียงกับราคาเดิมตั้งแต่หลายสิบปีก่อน ส่วนในเรื่องของวัสดุทำรองเท้า ทางผู้ผลิตกล่าวว่า รองเท้า Dum ยังใช้หนังวัวมาทำเหมือนเดิม
นอกจากราคาและคุณภาพ ทุกวันนี้รองเท้า Dum ใช้จุดขายจากการเป็นรองเท้าในตำนาน ที่คนยุค 90's ยังคงจดจำ และตามหาเพื่อนำกลับมาใส่อีกครั้ง โดยเฉพาะรุ่น "อินทรีดำ" ซึ่งเป็นรุ่นยอดนิยม แม้จะเป็นการผลิตใหม่ แต่ด้วยรูปลักษณ์ที่เหมือนของเก่าไม่มีผิดเพี้ยน รองเท้า Dum จึงถูกสั่งซื้อโดยกลุ่มลูกค้าที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป
ส่วนรองเท้า Dum แบบต้นตำรับ ที่ยังคงอยู่รอดมาจากยุค 90's ปัจจุบันถูกขายหรือประมูลเป็นของสะสม ซึ่งแน่อนว่ามูลค่าพุ่งสูงกว่าราคาเดิม จากเมื่อก่อนราคาคู่ละหลายร้อย ปัจจุบันกลายเป็นคู่ละหลายพัน
"ผมมีรองเท้า Dum รุ่นเก่า ประมาณ 5 คู่ ประมูลมาในกลุ่มรองเท้าสตั๊ด ราคาถือว่าแพงกว่าเดิมนะ คู่หนึ่งขายกัน 2 หรือ 3 พันบาท แล้วแต่รุ่นเลยครับ" ณัฐวุฒิ กล่าวถึงรองเท้า Dum ที่เขาเก็บสะสม
"รุ่นที่ผมซื้อมาแพงที่สุด คือรุ่นอินทรีดำสีดำ ผมประมูลมา 3 พันกว่าบาท เพราะว่าสภาพสวยมาก ทุกวันนี้ก็ยังเอามาใส่ถ่ายรูปนะ ผมว่ารองเท้ารุ่นเก่ามันมีเสน่ห์ รองเท้าเก่ายุคนั้นมันไม่เหมือนใคร ผมว่ารองเท้ายุค 90's ใส่แล้วดูเท่กว่าตัวลิมิเต็ดที่ออกมาทุกวันนี้อีกนะ"
กาลเวลาผ่านไป แต่ความทรงจำยังคงอยู่ คุณค่าของรองเท้า Dum เพิ่มขึ้นมากในปัจจุบัน แม้มูลค่าทางราคาอาจไม่พุ่งสูงจนเทียบเคียงรองเท้าสตั๊ดในปัจจุบัน แต่สำหรับคุณค่าทางจิตใจ รองเท้า Dum มีความหมายสำหรับใครหลายคน
อาจเป็นรองเท้าคู่แรกที่คุณใส่เตะบอล หรือเป็นรองเท้าคู่แรกที่พาคุณคว้าชัยชนะในการแข่งขันเกมส์ยิงปลาออนไลน์ เรื่องราวของรองเท้า Dum จะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตแฟนฟุตบอลชาวไทยยุค 90's ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง
Comments
Post a Comment